top of page

Site Title

ถ่าน

1. ถ่าน

 

 

 

 

                 ถ่าน  คือ ไม้ที่นำผ่านกระบวนการให้ความร้อนโดยอาศัยความร้อนจากเปลวไพ ในสภาวะที่ปราศจากก๊าซ ออกซิเจนที่เป็นตัวทำให้เกิดการเผาไหม้ การลุกติดไฟ ไม้ที่ได้รับความร้อนจนความชื้น สาระสำคัญต่าง ๆ เช่น เซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส สารเฉพาะตัวต่าง ๆ เกิดการละเหยและสลายตัวออกไป

จากเนื้อไม้ ซึ่งจะเหลือแต่ส่วนที่เป็นคาร์บอน ไม้จึงเปลี่ยนเป็นสีดำ

1.1 ส่วนประกอบของถ่าน

                โดยปกติในเนื้อไม้ที่มาใช้เผาถ่าน 1 ตันจะมีน้ำดิน (TAR)ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งเป็นส่วนประกอบอยู่ 2 ส่วน คือ น้ำมันดินที่ละลายน้ำ (SOLUBLETARS)190 กรัมและน้ำมันดินที่ไม่ละลายน้ำ 50 กรัม ซึ่งหากเป็นถ่านที่ไม่ได้เผาด้วยอุณหภูมิสูงจะมีน้ำมันดินปนอยู่ เมื่อนำถ่านนั้นไปทำการปิ้งย่างน้ำมันดินก็จะระเหยออกจากถ่านเมื่อโดนความร้อนและจะเกาะติดกับไขมันของเนื้อสัตว์

1.2 การผลิต

                 การผลิตถ่านในปัจจุบันสามารถ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ซึ่งมีกระบวนการเผาถ่านที่คล้ายคลึงกันแต่จะมีข้อแตกต่างในการผลิตอยู่เล็กน้อย ซึ่งทำให้คุณสมบัติในการใช้งานถ่านทั้ง 2 ประเภท และมาตรฐานในการตรวจสอบมีความแตกต่างกันไป ซึ่งจำแนกประเภทและวิธีการผลิตได้ดังนี้

 

 

 

 

1.2.1  ถ่านดำ (BLACK CHARCOAL) หรือ ถ่านอ่อน

              การเผาถ่านดำ จะมีขั้นตอนในการเผาถ่านทั่วไป โดยจะเผาอยู่ที่อุณหภูมิสูงสุดที่ 950 องศาเซลเซียส ในช่วงหลังจากที่มีการทำถ่านให้บริสุทธิ์จะดับถ่านภายในเตา โดยทำการปิดเตาไว้ อุณหภูมิของถ่านก็จะเย็นตัวลง เมื่ออุณหภูมิลดลงไปอยู่ที่ 50 องศาเซลเซียสแล้วก็สามารถเปิดช่องเตา ด้านบน และด้านหน้าเพื่อนำถ่านออกจากเตาได้ ระยะเวลาในการเผาถ่านดำจะนานกว่าถ่านขาว เพราะต้องมีการรอให้ถ่านเย็นตัวลงภายในเตาก่อนนำออกมา

          ประโยชน์ของถ่านดำ

             ถ่านดำที่เผาด้วยอุณหภูมิไม่สูงมากใช้เวลาการเผาสั้นจะเหมาะเป็นเชื้อเพลิงในการปิ้งย่าง หรือให้ความอบอุ่น หากเป็นไม้ใยสั้นจะสามารถให้ไฟที่มีค่าความร้อนไม่สูงแต่ติดไฟได้นาน ส่วนถ่านที่ผลิตจากไม้ใยยาว เช่นไม้ไผ่ จะเหมาะกับกิจกรรมที่ต้องการไฟแรงในระยะเวลาอันสั้น เช่น การตีเหล็ก

             ถ่านดำที่เผาด้วยการให้ความร้อนอย่างช้าๆ จนอุณหภูมิสูงในเวลาที่ยาวนานจะทำให้ถ่านดำมีค่าคาร์บอนเสถียรสูงสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย ในครัวเรือนสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิง

ใช้ดูดกลิ่นและความชื้น บำบัดน้ำเสียในครัวเรือน ในทางการเกษตรใช้ปรับปรุงดินใช้ในการทำปุ๋ยหมัก

1.2.2 ถ่านขาว (WHITE CHAR COAL) หรือถ่านแข็ง

            การเผาถ่านขาวจะไม่มีความแตกต่างจากถ่านดำ แต่วิธีการดับถ่านขาวให้อุณหภูมิลดลงจะใช้การนำถ่านออกมาดับภายนอก โดยใช้ขี้เถ้าชื้นเป็นตัวหยุดอุณหภูมิความร้อนของถ่านอย่างกะทันหัน ตัวถ่านจึงมีขี้เถ้าติดอยู่ทำ ให้มีสีขาวขึ้น วิธีนี้กระบวนการผลิตถ่านขาวจึงมีความรวดเร็วกว่าถ่านดำ รวมทั้งมีการหดตัวทำให้น้ำหนักความแน่นดีกว่าและการปล่อยรังสีจะมีคลื่นความถี่สูงกว่าถ่านดำ การจุดไฟติดจะช้ากว่าถ่านดำ แต่เมื่อติดไฟแล้วจะให้ร้อนได้ยาวนานกว่า โดยปกติการเปลี่ยนสีของถ่านจะเปลี่ยนตั้งแต่สีแดง เป็นเหลือง เขียว และน้ำเงินตามลำดับ ช่วง 950 องศาเซลเซียสเมื่อเปิดเตาถ่านจะมีสีเหลือง คล้ายจีวรใหม่ ซึ่งอุณหภูมิสูงกว่าสีแดง เมื่อถ่านได้รับออกซิเจนจากอากาศ ภายนอกอุณหภูมิจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 1,100 องศาเซลเซียส เมื่อทำการดึงถ่านออกมาดับความร้อนด้วยขี้เถ้าอุณหภูมิจะลดลงอย่างรวดเร็ว

แต่เตาที่ทำถ่านขาวจำเป็นจะต้องเป็นเตาเล็กเพราะถ้าใช้เตาขนาดใหญ่เผาจะทำให้การลากไม้ออกมาใช้เวลา นานกว่า โอกาสที่จะทำให้ไม้ที่อยู่ข้างใน กลายเป็นขี้เถ้าจึงมี การผลิตถ่านขาวจะได้ผลผลิตถ่านเพียง 10% ต้นทุนจึงแพงกว่าถ่านดำและถ่านปิ้งย่างทั่วไป(สิทธิ์.2558)

       ประโยชน์ของถ่านขาว

           ถ่านขาวสามารถนำมาสร้างประโยชน์ให้กับการประกอบอาหารทั้งในเรื่องการเป็นเชื้อเพลิงและการสร้างคุณค่าทางอาหารแก่อาหารที่ทำ ถ่านขาวใช้เพิ่มรสชาติและธาตุอาหาร ในการหุงข้าว ข้าวที่หุงจะสวยไม่มีกลิ่นหืน ถ่านขาวเมื่อใส่ลงไปในกาต้มน้ำจะทำให้น้ำกลายเป็นน้ำแร่ที่มีธาตุอาหารรวมทั้งดูดกลิ่นและสารอินทรีต่าง ๆ ในน้ำ ในการปิ้งย่างจะทำให้รสชาติของเนื้อสัตว์ไว้ได้เนื่องจากคลื่นความร้อนที่มีความถี่สูงจะช่วยให้ผิวเนื้อปิดตัวเร็ว รสชาติภายในไม่สูญเสียไป

1.3 คุณสมบัติของถ่าน

   1.   สามารถดูดซับกลิ่นเหม็นอับไม่พึงประสงค์ต่างๆได้ซึ่งจะเห็นจากการนำถ่านมาไว้ในตู้เย็น ทำให้ตู้เย็นไม่         

         มีกลิ่นเหม็นคาว ใส่ไว้ในตู้เสื้อผ้า และตู้โชว์ เพื่อไม่ให้มีกลิ่นเหม็นอับ

   2.  ใส่ในถังข้าวสาร ช่วยกูดกลิ่น ความชื้น และปลดปล่อยประจุลบ ( Negative Ions ) และ อินฟาเรดยาว   

        ( Far infrared ray ) ป้องกันมอด และแมลงต่าง ๆ

   3.  ฟอกและปรับอากาศ ใต้เตียงนอน และใต้อาคารบ้านเรือน ช่วยดูดซับความชิ้นในฤดูที่มีความชื้นสูง และ  

        คลายความชิ้นในฤดูที่มีความแห้งแล้ง

  1. ดูดซับและหักเหคลื่นไฟฟ้า ( Adsorption of Electromagnetic Wave ) ช่วยดูดซับและหักเห

        คลื่นไฟฟ้าที่แผ่กระจายออกมาจาก ทีวี คอมพิวเตอร์ จอมอนิเตอร์ อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เปิดใช้งาน       

       อยู่ภายในบ้านและสถานที่ทำงาน ดูดซับลดการแผ่กระจายของคลื่นไฟฟ้าจากการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ

  1. ใส่ไว้ในแจกันหรือกระถางดอกไม้ ทำให้เกิดออกไซด์ เพิ่มออกซิเจนและแร่ธาตุ แคลเซี่ยม โพตัสเซี่ยม

แมก เนเซี่ยม ฯลฯ ให้กับน้ำในแจกันหรือกระถางดอกไม้

  1. ใส่ในตู้กระจกหรืออ่างเลี้ยงปลา ช่วยเพิ่มออกซิเจนในน้ำ เพิ่มแร่ธาตุ แคลเซี่ยม โพตัสเซี่ยม แมกเนเซี่ยม  

     ฯลฯ ทำให้น้ำใสสะอาด ช่วยเร่งการตกตะกอนของฝุ่นละอองในน้ำ( ชารโคลว์ไทย.2558)

bottom of page