top of page

บทที่่1

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

 ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมที่มีผลผลิตทางการเกษตรมากมายหลายชนิด ในอดีตเคยมีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ แต่เนื่องจากมีการตัดต้นไม้ทำลายป่ามากขึ้น ทำให้พื้นที่ป่ามีจำนวนลดลงมาก และทำให้มีสวนผลไม้ที่น้อยลง กลุ่มผู้ทำโครงงานจึงนำพืชมาสร้างประโยชน์ให้มากกว่าการนำมาบริโภค เนื่องจากจังหวัดนครปฐมเป็นจังหวัดที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับผลไม้ พวกเราจึงนำเปลือกทุเรียน ข้าวโพด มังคุด น้อยหน่า ฯลฯ มาทำเป็นถ่านเพื่อทดสอบประสิทธิภาพในการดูดกลิ่นอับ(วิรามาศ ประมาณู.2557) 

         ปัจจุบันมีผู้นำกากจากผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรมาใช้เป็นเชื้อเพลิงแทนถ่านไม้ สามารถลดการตัดต้นไม้ทำลายป่าได้ โครงงานเรื่อง ”ถ่านดับกลิ่นจากเปลือกผลไม้” สามารถลดการตัดไม้ทำลายป่าได้ จัดทำขึ้นเนื่องจาก คณะผู้จัดทำเห็นว่าประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมที่มีผลิตภัณฑ์ทางด้านเกษตรกรรมมากมายหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นผลไม้ต่างๆแต่มันก่อให้เกิดกากและขยะมูลฝอย จากผลิตภัณฑ์ดังกล่าว คณะผู้จัดทำโครงงานคิดว่าควรหาวิธีการที่นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ด้านอื่นๆ จากคุณสมบัติของถ่านไม้ที่สามารถดูดซับกลิ่นอับ ภายในภาชนะหรือตู้ที่ปิดสนิทได้ โดยเฉพาะกลิ่นเหม็นอับอาหารในตู้เย็น กลิ่นอับในห้องต่างๆ กลิ่นอับที่มีอยู่ในรถ เป็นต้น โดยการทดลองนำเอาเปลือกทุเรียน แกนข้าวโพด  เปลือกผลไม้ชนิดอื่นๆ ที่จะถูกทิ้งเป็นขยะ นำมาเผาและบดให้เป็นผงถ่าน แล้วนำมาผสมกับแป้งเปียก เมื่อแห้งแล้วนำมาอัดเป็นรูปให้สวยงามตามแบบพิมพ์ที่ต้องการ เช่น ลายการ์ตูน ลายผลไม้ หรือลายสัตว์ต่างๆ จากนั้นนำไปทดลองเพื่อดับกลิ่นอับ(อภิญอภิญญารัตน์.2557)

           โครงงานนี้เป็นโครงงานที่จัดทำง่าย ลงทุนน้อย ฝึกให้เกิดทักษะในการคิดการศึกษาค้นคว้าเชิงวิทยาศาสตร์ การประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ โดยตั้งสมมติฐานว่า “ผลิตภัณฑ์ถ่านจากเปลือกผลไม้ชนิดใดมีประสิทธิภาพในการดูดกลิ่นมากกว่ากัน” ลดปริมาณขยะและอาจพัฒนาต่อเนื่องให้เป็นผลิตภัณฑ์ในชุมชน ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนและตนเองได้

 

Walkaway 

weekly newsletter

Get in touch // Tel: 123-456-7890 // info@mysite.com
bottom of page