top of page

Site Title

โครงงานที่เกี่ยวข้อง

โครงงานที่ 1  ชื่อโครงงาน : ถ่านไม้ดูดกลิ่นผสมใบเตย

          ถ่านไม้ดูดกลิ่นผสมใบเตย วิทยาลัยสารพัดช่างปราจีนบุรี ถ่านไม้ดูดกลิ่นผสมใบเตยเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำมาเพื่อใช้ดูดกลิ่นคาวในตู้เย็น หรือดูดกลิ่นอับในตู้เสื้อผ้าเป็นหลัก มีลักษณะเป็นก้อนและเป็นแท่งแข็งๆ ตกแต่งให้มีรูปแบบที่หลากหลายกะทัดรัด น่าใช้ มีกลิ่นหอม ดังนั้น จึงได้จัดทำถ่านไม้ดูดกลิ่นผสมใบเตยขึ้น  ซึ่งทั้งถ่านไม้และใบเตยต่างมีคุณสมบัติดูดกลิ่นทั้งสิ้นเพื่อต้องการให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทรงคุณค่าทางด้านผลิตภัณฑ์ดูดกลิ่น อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมและอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย  ที่สามารถนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์และเป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ผลิตขึ้นจากความคิดของนักเรียนนักศึกษาอาชีวศึกษา และสามารถเพิ่มรายได้ให้กับตนเองและชุมชนอีกด้วย (พรทิพย์ภา ผิวนวลสุคนธ์. 2558)

         

 โครงงานที่ 2  ชื่อโครงงาน : ถ่านไม้รีไซเคิล

          ถ่านไม้รีไซเคิล  โรงเรียนคณะราษฎร์บำรุงปทุมธานี จ.ปทุมธานี ปทุมธานี ได้ตระหนักถึงปัญหาภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งเด็กๆ ต้องการที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้น จึงเกิดแนวความคิดที่จะทำโครงงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยหลังจากที่นักเรียนได้ออกไปสำรวจแหล่งกำเนิดโลกร้อนในชุมชนแล้วพบว่าคนไทยนิยมใช้ถ่านเพื่อประกอบอาหารกันมาก เช่น ร้านหมูกระทะ ร้านไก่ย่าง หมูย่าง เนื้อย่างเป็นต้น เพราะถ่านเป็นพลังงานเชื้อเพลิงที่มีราคาถูกกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่นๆ แต่ถ่านเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน เพราะเมื่อถ่านถูกเผาไหม้จะมีควัน ซึ่งมีส่วนประกอบของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซสำคัญที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก นักเรียนชั้น ม. 2โรงเรียนคณะราษฎร์บำรุงปทุมธานี จึงมีแนวความคิดที่จะนำเศษถ่านมารีไซเคิล ให้เป็นถ่านที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าถ่านธรรมดาทั่วไป และเพื่อลดควันให้มีปริมาณน้อยลง ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยลดเกิดภาวะโลกร้อน ประโยชน์สามารถผลิตถ่านไม้ชีวภาพเป็นพลังงานทดแทนในอนาคตได้พลังงานจากถ่านรีไซเคิลไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางอากาศ และช่วยลดภาวะโลกร้อนสามารถนำไปพัฒนาค้นหาวิธีการนี้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อเนื่องในท้องถิ่น จะเป็นการช่วยประหยัดทรัพยากรป่าไม้ในการนำมาทำถ่านไม้และจากผลการศึกษาประสิทธิภาพของถ่านรีไซเคิลสรุปได้ว่า อัตราส่วนผสมของเศษถ่าน:แป้ง: น้ำ ที่แตกต่างกันจะให้พลังงานความร้อนที่แตกต่างกัน โดยอัตราส่วนผสมที่ 2:1:1 ใช้เวลาน้อยที่สุด ที่จะทำให้น้ำปริมาตร 50 ml มีอุณหภูมิสูง 80oC และภายในเวลา 4 นาที อัตราส่วนดังกล่าวสามารถทำให้น้ำมีอุณหภูมิสูงที่สุด ส่วนชนิดของแป้งที่ผสมในถ่านในอัตราส่วนข้างต้นแล้วจะทำให้พลังงานความร้อนสูงที่สุด คือ แป้งข้าวโพด ( พรทิพย์ภา ผิวนวลสุคนธ์. 2558)

 

bottom of page